สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ร่วมกับ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ลุยจัดงานสัมมนาวิชาการ “iEVTech 2025”

(ภาพหมู่ รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล ประธานกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษาสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT), นายสุโรจน์ เเสงสนิท นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT), นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และนายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป)
ภายใต้แนวคิด Mobilize to Globalize: Innovative Supply Chain and Technology for Sustainability มุ่งขับเคลื่อนซัพพลายเชนและเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนสู่ระดับโลก

นายสุโรจน์ เเสงสนิท นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) พร้อมด้วย รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล ประธานกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษาสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) และ นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และนายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเปิดงานเเสดงนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเเห่งปี iEVtech 2025

งานดังกล่าวนี้ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ร่วมกับบริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ จํากัด จัดงานเเสดงนวัตกรรมด้านยานยนต์ไฟฟ้าเเห่งปี iEVtech 2025 ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้ได้ดำเนินการจัดขึ้นเป็นปีที่ 10 เเล้ว เริ่มตั้งเเต่วันที่ 2 กรกฎาคม ไป จนถึง 4 กรกฎาคม 2568 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมขนทัพเทคโนโลยีและนวัตกรรมสุดล้ำด้านพลังงานสะอาดมาจัดเเสดง ชูแนวคิด Mobilize to Globalize: Innovative Supply Chain and Technology for Sustainability โดยมีเป้าหมายเพื่อการขยายความรู้ ความเข้าใจในด้านยานยนต์ไฟฟ้าและระบบนิเวศน์ อัปเดตเทรนด์ โอกาส ความได้เปรียบของไทยและอาเซียน และเพื่อยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค ภายในงานมีผู้แทนจากอาเซียนและพันธมิตรจากทั่วโลก มาร่วมเเลกเปลี่ยนความรู้เเละเเชร์เเนวคิดด้านยานยนต์ไฟฟ้า

โดยในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 พิธีเปิดเริ่มต้นในช่วงบ่าย กล่าวต้อนรับโดย นายสุโรจน์ แสงสนิท นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) และนายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ (ประเทศไทย) จำกัด 

ซึ่งจะมีการบรรยายในหัวข้อ “Mobilize to Globalize: Innovative Supply Chain and Technology for Sustainability” โดยมี นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เริ่มปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “Investment Promotion for EV Supply Chain and Technology Mobilization to Thailand”

ต่อด้วยในช่วงถัดไป พบกับ การเสวนาโดยผู้บริหาร ในหัวข้อ Mobilize to Globalize นวัตกรรมซัพพลายเชนและเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน โดยมีผู้ร่วมอภิปราย ได้แก่ นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) และประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการบริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน), ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK), Mr. Joseph Hong กรรมการผู้จัดการ Bosch ประเทศไทยและลาว และ Mr. Mathew Smith หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศ The Society of Motor Manufacturers and Traders Limited (SMMT), UK พร้อมผู้ดำเนินรายการโดย Mr. John Joern Stech ผู้ก่อตั้ง Shiftgate Consulting LLC และผู้ดำเนินรายการพอดแคสต์ The Auto Ethnographer เเละต่อด้วย ปาฐกถาพิเศษ “EV Market Outlook 2025” โดย Ms. Komal Kareer ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งขั้นสูง Bloomberg New Energy Finance เเละปิดท้ายวันด้วยการกล่าวปิดการประชุม โดย ผศ.ดร.อุเทน สุปัตติ รองนายกสมาคมพัฒนาศักยภาพบุคลากรและวิชาการ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT)

ต่อเนื่องงานเสวนาด้วยวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 ช่วงเช้า ณ ห้อง MR 109 A ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เริ่มพูดคุยและกล่าวต้อนรับ โดย นายฉันทกร เดวิชญ์ กริดวิชญยาการ ประธาน Thailand Charging Consortium และประธานคณะทำงานที่ 4 – การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) โดยมีการเสวนาในหัวข้อ Upcoming Technologies in EV Infrastructure and EV Roaming Collaboration & Regulation เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ในโครงสร้างพื้นฐานสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าและความร่วมมือด้าน EV Roaming และการกำกับดูแล จะมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ Mr. Michel Bayings ผู้อำนวยการ EV Roaming Foundation เริ่มปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ เร่งการพัฒนา EV Roaming ในกลุ่มประเทศอาเซียนและเอเชีย: บทเรียนจาก EV Roaming Foundation “EV Roaming ของอาเซียนจะสามารถมอบประสบการณ์ที่ไร้พรมแดนเหมือนในยุโรปได้อย่างไร?” ต่อด้วย Mr. Jacques Borremans ผู้อำนวยการ CharIN Asia กล่าวในประเด็น อาเซียนต้องเตรียมตัวอย่างไรสำหรับโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จระดับเมกะวัตต์และระบบ PKI (Public Key Infrastructure)? ตามด้วย Ms. Celine Maroun ผู้จัดการโครงการ PMO, e-clearing.net GmbH กล่าวในหัวข้อ การวางแผนเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้า และการจัดการโปรไฟล์การชาร์จผ่าน e-Roaming Hub: บทเรียนจากยุโรปและข้อควรระวังสำหรับผู้เล่นในเอเชีย และ Mr. Terence Wang ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์ บริษัท VicOne Corp. (บริษัทในเครือของ Trend Micro) กล่าวในหัวข้อ ช่องโหว่ Zero-Day สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และโครงสร้างพื้นฐาน EV: สรุปจากเวที Pwn2Own Automotive 2025

ช่วงเช้าเวลาเดียวกัน ณ ห้อง MR 109 B ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ยังมีงานเสวนาในหัวข้อ ความร่วมมือระดับนานาชาติด้านยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน ร่วมพูดคุยและกล่าวต้อนรับ โดย ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล นายกสมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (TESTA) และดร.นุวงศ์ ชลคุป ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยคาร์บอนต่ำ กรมพัฒนาพลังงานทดเเทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน เริ่มปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ ประสบการณ์ด้านยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศจีน – แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับอาเซียน โดย Mr. Liu Xiaoshi รองเลขาธิการบริหาร EV100 และหัวข้อย่อยในงานเสวนาช่วงเช้านี้ เริ่มจากหัวข้อ การสนับสนุนเป้าหมาย NDC โดยการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยนายข่าน รามอินทรา หัวหน้าโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ต่อด้วย หัวข้อ แพลตฟอร์มการสนับสนุนระดับภูมิภาคและการลงทุนในยานยนต์ไฟฟ้า โดย Mr. Bert Fabain ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการขนส่ง ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ตามด้วย หัวข้อ บทบาทของระบบขนส่งไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่นต่อการลดคาร์บอนในจังหวัดภูเก็ต โดย ดร.กัมปนาท ซิลวา จากศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) เเละปิดท้ายด้วย ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล นายกสมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (TESTA) ร่วมกล่าวในหัวข้อ ความร่วมมือด้านแพลตฟอร์มการสลับแบตเตอรี่สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 2 ล้อ

อีกทั้งในช่วงบ่ายจะมีการบรรยายภายใต้หัวข้อ EV Knowledge Sharing: แบ่งปันองค์ความรู้ด้านยานยนต์ไฟฟ้า – นวัตกรรมซัพพลายเชนและเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน ณ ห้อง MR 109 A ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ร่วมพูดคุย โดย นางสาวธมลวรรณ ชลประทิน อุปนายกสมาคมฯ ฝ่ายข้อมูล การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ เเละผู้ดำเนินรายการโดย Mr. John Joern Stech ผู้ก่อตั้ง Shiftgate Consulting LLC และผู้ดำเนินรายการพอดแคสต์ The Auto Ethnographer ในช่วงบ่ายเริ่มกล่าวต้อนรับ โดย รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล ประธานกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษาสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) เริ่มปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ แนวทางการพัฒนาแบตเตอรี่ที่พลิกโฉมวงการ วิทยาการโดย ดร.อติชาติ โรจนกร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท 24M Technologies (Thailand) จำกัด ต่อด้วย การเสวนาในหัวข้อ เทคโนโลยีเลเซอร์ล่าสุดในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยวิทยากร Mr. Markus Lindemann ผู้จัดการทั่วไป TRUMPF สิงคโปร์ และผู้อำนวยการภูมิภาค แผนกเลเซอร์ ฝ่ายขายและเทคโนโลยี, Trumpf Pte Ltd. หลังจากนั้นพบกับการบรรยายในหัวข้อ การขยายโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 100,000 สถานีทั่วประเทศภายในปี 2573 และการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จเข้ากับแนวคิดเมืองอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานการจัดการจราจร และการบริหารจัดการเมืองอย่างยั่งยืน โดยวิทยากร ดร.บัญชา ยาทิพย์ ที่ปรึกษาฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) ถัดมาเป็นการบรรยายในหัวข้อ โซลูชันสนับสนุนตลาดรถยนต์มือสองและการเติบโตอย่างยั่งยืนของ BEV ในภูมิภาค โดยวิทยากร นายสาธิต มาลัยโรจน์ศิริ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายขาย Bosch Power Solutions ภูมิภาคอาเซียน ปิดท้ายด้วย การบรรยายในหัวข้อ Swap, Scale, Sustain: แพลตฟอร์มแบตเตอรี่อัจฉริยะจาก Aionex เพื่อขับเคลื่อนการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ (E2W) โดย นายณวัฒน์ ศิลาวรรณ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท Aionex จำกัด

ลาเดียวกัน ณ ห้อง MR 109 B ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ยังมีงานเสวนาในหัวข้อ โอกาสทางธุรกิจในระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อมุ่งสู่การลดการปล่อยคาร์บอน กล่าวต้อนรับและอัปเดตสถานการณ์ EV ในประเทศไทย โดย ผศ.ดร.อุเทน สุปัตติ รองนายกสมาคมพัฒนาศักยภาพบุคลากรและวิชาการ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) พร้อมผู้ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุตาภัทร แคว้นเขาเม็ง และนำเสวนาโดยวิทยากร นายศุทธิภณ เหลืองทองคำ นักส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ร่วมเสวนาในหัวข้อ การส่งเสริม SME ในห่วงโซ่อุปทานยานยนต์ไฟฟ้า: โอกาสและความท้าทาย ต่อด้วย นายราล์ฟ พัฒนธิต ชูติกุล จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ – FusionCharge Thailand, Huawei Digital Power Thailand กล่าวในหัวข้อ การบูรณาการ EV กับพลังงานหมุนเวียน: โมเดลธุรกิจสำหรับระบบกระจายศูนย์ หลังจากนั้นพบกับการเสวนาในหัวข้อ การบริหารความเสี่ยงด้าน EV ในตลาดเกิดใหม่ จะมีผู้ร่วมเสวนา ได้เเก่ นายธนภูมิ เศรษฐศิริรัตน จากสมาคมเช่าซื้อไทย, ผู้แทนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และนายวิโรจน์ พัชรวัฒนกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการตลาด บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) เเละปิดท้ายวันด้วยการกล่าวปิดการประชุม โดย ดร.วิศวัฒน์ เกษเวชชะเรืองสุข ผู้จัดการโครงการความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านพลังงาน การขนส่ง และสภาพภูมิอากาศ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT)

ช่วงบ่ายในวันเดียวกันก็มีอีกหนึ่งห้องสัมมนาที่น่าสนใจคือ Round Table Session ที่นำทีมโดยนายสยามณัฐ พนัสสรณ์ อุปนายกสมาคมฯ ฝ่ายอุตสาหกรรมเเละพัฒนาธุรกิจ เเละ ดร.นุวงศ์ ชลคุป ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยคาร์บอนต่ำ กรมพัฒนาพลังงานทดเเทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน พูดคุยกับเหล่า ตัวเเทนจากสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าจากชาติในอาเซียนทั้งจากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ รวมไปถึงผู้อำนวยการกรมพลังงาน จากประเทศฟิลิปปินส์ อีกด้วย ในประเด็น ความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อจุดมุ่งหมายด้านการพัฒนานวัตกรรมในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเเละเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน

ในวันสุดท้าย 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 ช่วงบ่ายพบกับสัมมนาโต้วาที “รถยนต์น้ำมัน / กึ่งน้ำมัน (ICE / HYBIRD CAR) ประชันกับ รถยนต์ไฟฟ้า (EV Car) ในประเด็น “เปลี่ยนรถ เลือกไหนดี” ที่นำทัพการโต้วาทีโดยสื่อสายรถยนต์ เจ้าของเว็บไซต์ Headlightmag อย่างนายธนเทพ ธเนศนิรัตศัย หรือคุณจิมมี่ เเละ นายสุรมิส เจริญงาม ผู้ดำเนินรายการทีมขับซ่า รายการ Garage Story ส่วนผู้เเทนฝั่งรถยนต์ไฟฟ้า (EV Car) พบกับอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังสายอีวีอย่างคุณเวล นายกฤษดา ธีรศุภลักษณ์ จากช่อง Welldone Gurantee มาพร้อมกับนายวรรณดิษย์ เเว่นอินทร์ เจ้าของเพจ Captain DIY ที่จะมาดีเบทสุดเข้มข้นในประเด็นยอดฮิตที่ผู้ใช้รถยนต์ในปัจจุบันหลายคนต่างมีคำถาม เเละทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ก็เล็งเห็นถึงการให้ความรู้เเละข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

ด้านนายสุโรจน์ แสงสนิท นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) เปิดเผยว่า “การจัดงาน iEVTech 2025 ที่สมาคมฯ ร่วมกับ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ จำกัด ในปีนี้ถือเป็นการครบรอบทศวรรษของการเป็นเวทีสำคัญเพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทย เป้าหมายหลักคือการ “ส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าแห่งอนาคตอย่างเต็มรูปแบบ” ภายในงาน เราได้ “ระดมสุดยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยี EV ล่าสุดจากทั่วโลก” พร้อมนำเสนอ “องค์ความรู้เชิงลึกจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กรชั้นนำ” เพื่อวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์เกี่ยวกับ “ทิศทางที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า” ยิ่งไปกว่านั้น งานนี้ยังเป็นศูนย์รวม “โอกาสการลงทุนอันมหาศาล” ในอุตสาหกรรม EV แห่งอนาคต ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรระดับภูมิภาคอย่าง สมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (Testa), สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP), และธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ซึ่งจะมาให้ข้อมูลเชิงลึกแก่ผู้เข้าร่วมงาน “ผมขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมสร้างสรรค์งานประวัติศาสตร์นี้ให้เกิดขึ้น และมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้าร่วมงานจะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อนำไปต่อยอดและพัฒนาศักยภาพองค์กรของท่านให้ก้าวไกลยิ่งขึ้นไป” นายสุโรจน์กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับผู้เข้าร่วมรับฟังการเสวนาในงาน iEVTech 2025 ครั้งนี้ จะได้รับองค์ความรู้ แนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรม EV ทั้งในไทย อาเซียน และระดับโลก เทคโนโลยีและซัพพลายเชนเพื่อความยั่งยืน รวมถึงโอกาส ความได้เปรียบของไทยและอาเซียนในการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาคและระดับโลก พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองกับผู้เชี่ยวชาญองค์กรชั้นนำระดับนานาชาติ อีกด้วย

โดยงานเเสดงนวัตกรรมด้านยานยนต์ไฟฟ้าเเห่งปี iEVtech จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ติดตามข่าวสารข้อมูลเเละกิจกรรมที่น่าสนใจเพิ่มเติมของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าได้ที่ เว็บไซต์ www.evat.or.th เเละช่องทางโซเชียลมีเดียของสมาคมฯ