นิสสันนำเทคโนโลยี Mixed Reality (MR) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต

ผ่านการใช้แว่นตาที่ผสานความเสมือนจริงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการฝึกอบรม

หนึ่งในหัวข้อสนทนายอดนิยมในยุคนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องเมทาเวิร์ส เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (VR) และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เชื่อมโยงเราเข้ากับโลกเสมือนจริง เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้ทำให้เรามองเห็นและสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีอยู่จริงด้วยการผสมผสานโลกดิจิทัลเข้ากับโลกแห่งความเป็นจริง โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้นิสสันได้เริ่มใช้เทคโนโลยีนี้สำหรับการฝึกอบรมในบางสายการผลิตรถยนต์ ซึ่งวันนี้ได้เริ่มนำเทคโนโลยี MR มาใช้ในสายการประกอบระบบขับเคลื่อนของรถยนต์ไฟฟ้า (e-powertrain)

ความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยี VR, AR และ MR

โลกเสมือนจริงแต่ละประเภทไม่ว่าจะเป็น VR, AR และ MR แตกต่างกันอย่างไร ที่จริงแล้วแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน

 เสมือนจริง (VR)

VR หรือ Virtual Reality ช่วยให้ผู้ใช้สัมผัสโลกเสมือนจริงจากมุมมองของบุคคลที่หนึ่งผ่านการสวมใส่อุปกรณ์ เช่น ชุดอุปกรณ์ VR ถูกใช้อย่างแพร่หลายในด้านต่างๆ เช่น ความบันเทิง เกม และการเดินทางเสมือนจริง

โลกแห่งความจริงที่ถูกเติมรายละเอียด (AR)

ในขณะที่ AR จะเป็นการเติมเนื้อหาดิจิทัลเข้าไปในโลกแห่งความเป็นจริงเพื่อให้ผู้ใช้งานมองเห็นได้ สามารถใช้เพื่อเสริมข้อมูลหรือนำตัวละครเสมือนจริงเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริง AR ถูกใช้ในหลากหลายรูปแบบ รวมถึงเกมบนสมาร์ทโฟน และระบบนำทาง

ความเป็นจริงผสม (MR)

ส่วน MR คือการผสมผสานระหว่าง VR และ AR โดยที่ MR มีคุณสมบัติการเชื่อมต่อ หรือ ซิงโครไนซ์ระหว่างโลกแห่งความจริงและโลกเสมือนจริง ทำให้ผู้ใช้สามารถสัมผัสและเคลื่อนย้ายวัตถุเสมือนจริงไปรอบๆ ได้โดยใช้มือของตัวเอง

เทคโนโลยีเหล่านี้เรียกรวมกันว่า Cross Reality (XR)

MR สามารถพัฒนาการผลิตรถยนต์ได้อย่างไร?
เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการนำแว่นตา MR มาใช้ในการฝึกอบรมขั้นตอนการตรวจสอบสายการประกอบระบบขับเคลื่อนของรถยนต์ไฟฟ้าในโรงงานนิสสันที่เมืองโทชิกิ ประเทศญี่ปุ่น

ขั้นตอนการตรวจสอบระบบขับเคลื่อนของรถยนต์ไฟฟ้าประกอบด้วยขั้นตอนการตรวจเช็คถึง 30 รายการ ก่อนหน้านี้ อาจารย์ผู้สอนจะฝึกอบรมพนักงานใหม่แบบตัวต่อตัวเพื่อสอนงาน พนักงานใหม่เองได้รับมอบหมายให้ศึกษาคู่มือและวิดีโอต่างๆ เพื่อให้ได้ระดับความชำนาญที่จำเป็น ขั้นตอนนี้ต้องใช้เวลาอย่างมากเนื่องจากความซับซ้อนของงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงมีการทดลองนำ MR มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความชำนาญ

เมื่อสวมแว่นตา MR รูปภาพและข้อความจะขึ้นซ้อนบนระบบส่งกำลังไฟฟ้าจริง ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถเข้าใจงานได้ทันที ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถตรวจสอบความเข้าใจของตนเองได้โดยชี้ไปตรงส่วนที่จะตรวจเช็ค

นิสสันยังได้ทำงานร่วมกับ JATCO ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีติดตามการมองเห็น (eye-tracking technology) ฟังก์ชันเหล่านี้ทำให้สามารถบันทึกการมองเห็นของผู้เข้าอบรมได้แม้เมื่ออยู่ลำพัง ทำให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความเข้าใจได้ในภายหลัง

อีกหนึ่งความล้ำจากเทคโนโลยีนี้คือ แม้เมื่อระบบขับเคลื่อนของรถยนต์ไฟฟ้าเครื่องจริงไม่สะดวกต่อการฝึกฝน ก็สามารถดูโมเดล 3 มิติ ได้ผ่านแว่นตาเสมือนจริง

ผลลัพธ์ที่ได้คือ ระยะเวลาการเรียนรู้ลดลงครึ่งหนึ่ง และระยะการฝึกสอนลดลงถึง 90%

ระยะเวลาฝึกอบรม
จาก 10 วัน เหลือ 5 วัน
ระยะเวลาสอน
จาก 10 ชั่วโมง เหลือ 1 ชั่วโมง

เหตุผลในการนำ MR มาใช้
การขาดแคลนแรงงานในญี่ปุ่น ที่มีสาเหตุมาจากอัตราการเกิดต่ำและสังคมสูงอายุ เป็นหนึ่งในเหตุผลที่นิสสันนำเทคโนโลยี MR มาใช้ในการผลิต  อีกทั้งยานพาหนะในปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น อัจฉริยะมากขึ้น และมีระบบการเชื่อมต่อที่พัฒนามากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่พนักงานทุกคนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสะดวกสบายและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของตนได้ ต้องขอบคุณ MR ที่ทำให้พนักงานใหม่สามารถเรียนรู้งานได้เร็วยิ่งขึ้น ทำให้ผู้สอนใช้เวลากับงานขั้นสูงได้มากขึ้น เทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์นี้ใช้เวลาการพัฒนาและนำมาใช้เป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี  เรามาดูเรื่องราวที่เกิดขึ้นกัน

ในมุมมองของคาซุกิ ชิมิซุ วิศวกรด้านระบบและสิ่งอำนวยความสะดวกซึ่งดูแลการพัฒนา MR ที่โรงงานในโทชิกิ (Kazuki Shimizu, the facilities and system engineer in charge of MR development at the Tochigi Plant) เทคโนโลยีนี้ถือเป็นช่วงการเรียนรู้ที่ให้ประโชน์และมีสิทธิภาพสำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้อง

“โรงงานของเราเป็นโรงงานนิสสันแห่งแรกที่ผลิตมอเตอร์รถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นกระบวนการตรวจสอบจึงเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับพวกเราทุกคน” เขากล่าว “ระบบใหม่มีประโยชน์เพราะทุกคนเป็นมือใหม่”

มาซาฮิโตะ อิเดะ ผู้สอน (Masahito Ide, an instructor) เน้นย้ำถึงคุณประโยชน์ของการทดสอบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้านิสสัน

“ถึงแม้จะเป็นเทคโนโลยีใหม่” เขากล่าว “แต่มันจะไร้ความหมายหากเราไม่ได้ใช้มันอย่างต่อเนื่อง เราสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานด้านการพัฒนาหลายครั้งจนกระทั่งเราพอใจกับไซต์งานและสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

“MR เป็นเรื่องใหม่และเข้าใจง่าย” ไดอิกิ มัตซึโมโต ผู้ตรวจสอบ (Daiki Matsumoto, an inspector) กล่าว “ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสนุกจริงๆ ที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำงานของเรา”

จากความสำเร็จที่เมืองโทชิกิ ทำให้นิสสันดำเนินการต่อยอดระบบนี้ที่เป็นวิสัยทัศน์แห่งอนาคตไปยังสายการผลิตอื่น ๆ

การใช้ XR ที่นิสสัน
ปัจจุบันนิสสันใช้เทคโนโลยี XR ในการทำงานที่หลากหลาย อาทิ แผนกออกแบบใช้เทคโนโลยีนี้ร่วมกับเทคนิคการสร้างโมเดลรถยนต์จากดินน้ำมัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการปรับปรุงแก้ไข

นอกจากนี้นิสสัน ยังได้เนรมิตพื้นที่ประสบการณ์แบรนด์นิสสัน ครอสซิ่งซึ่งตั้งอยู่ในเขตกินซ่า กรุงโตเกียวให้เป็นแกลลอรี่เสมือนจริงในเมทาเวิร์ส คลิกที่ลิงค์นี้เพื่อสัมผัสประสบการณ์ใหม่ของการสื่อสารเชิงดิจิทัล